การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction,Impotence) หรือ ED นั้นในทางการแพทย์สามารถรักษาได้ และ จะแบ่งการวินิจฉัยจากสาเหตุต่างๆดังนี้
การเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
ที่เกิดจากความผิดปรกติของระบบหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การฉายแสง การขี่จักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ในระยะทางไกลๆ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักๆในการตรวจพบการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ง่ายที่สุด
การเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
จากอาการผิดปรกติของระบบประสาทสามารถพบได้เช่น การเป็นเนื้องอกในสมอง โรคลมชัก โรคอัมพาต โรคพากินสัน โรคอัลไซเมอร์ รวมถึง การผิดปรกติของระบบประสาทไขสันหลังซึ่งมักเกิดจากอุบัติเหตุ และ การผิดปรกติของระบบปลายประสาทซึ่งมักเกิดจาการเป็นโรคเบาหวาน และ การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
อาการของโรคจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
ระดับที่ 1 ยังสามารถมีเพศสัมพันธุ์และหลั่งได้ทุกครั้ง ระดับที่ 2 สามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้แต่ไม่สำเร็จในทุกครั้ง ระดับที่ 3 มีเพศสัมพันธุ์แต่ไม่สำเร็จเลย ซึ่งอาการนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคนด้วย
การวินิจฉัยการรักษาโดยแพทย์
นั้น จะดูจากองค์ประกอบต่างๆของแต่ละบุคคล เช่น ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงยาที่รับประทนเป็นประจำ ความต้องการทางเพศมีบ่อยแค่ไหน อาการแข็งตัวมีมากหรือน้อย ซึ่งแพทย์จะซักประเด็นเหล่านี้ในเบื้องต้น การตรวจร่างกายหลังจากการซักประวัติซึ่งแพทย์จะดูที่อวัยวะเพศดูสภาพการแข็งตัว เพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น ส่วนการวินิจฉัยทางแลป คือ การเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล การทำงานของตับ ไต ไขมัน และ ดูผลเลือดเพื่อเป็นส่วนประกอบ และ อาจมีการตรวจฮอร์โนนเพศชายว่าอยู่ในระดัไหน และ ให้ผู้ป่วยเช็คการแข็งตัวของอวัยวะเพศในเวลาต่างๆ เพื่อดูว่าเกิดจากสภาพจิตใจด้วยหรือไม่
การรักษา
ในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆหากผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงมากจากสาเหตุต่งๆ เช่น ลดอาหารไขมัน ลดบุหรี่ สุรา และอื่นๆที่ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง และ การรักษาทางด้านอารมณ์และจิตใจซึ่งอาเกิดจากความกังวลต่างๆ และสุดท้ายคือการใช้ยา ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกยาในการรักษาตามระดับอาการ ซึ่งมีทั้งกิน ฉีด และ สอด ซึ่งยานั้นจะมีหลายกลุ่ม เช่นที่เรารู้จักกันในชื่อ ไวอากร้าเป็นยาในกลุ่ม Sildenafil citrate ซึ่งจะใช้รับประทาน ซึ่งไม่ควรซื้อรับประทานเอง เพราะยาตัวนี้มีผลข้างเคียงและเป็นการใช้เฉพาะครั้งเท่านั้นไม่ได้มีผลการรักษาที่ถาวร และ ต้องดูขนาดของยาตามความเหมาะสมของอาการที่เป็นและยานี้ยังส่งผลต่อยาที่รับประทานเพื่อรักษาโรคเบางชนิดที่ ป็นประจำด้วย และยังมียาอีกหลายชนิดซึ่งแพทย์จะสั่งตามความเหมาะสมของผู้ป่วย ดังนั้นหากเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศควรพบแพทย์จะดีกว่าการซื้อยาทานเอง
การป้องกัน
ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเร้าต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด รวมถึงการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการเสี่ยงเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งหากมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงดังที่กล่าวมาควรปรึกษาแพทย์ว่าต้องการเลี่ยงยาที่ส่งผลต่อการเกิดเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของยารักษาโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยาเพราะยารักษาโรคเหล่านี้ต้องทานในระยะเวลาที่ยาวนานบางคนต้องทานตลอดชีวิตดังนั้นหากกลัวที่จะเกิดเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ควรให้แพทย์เลี่ยงยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงด้วย และ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ระบบเลือดและประสาทมีความตื่นตัวทำงานได้ดี ก็จะลดการเกิดเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย
Leave A Comment